วัดอัมพวัน

           เดิมชื่อ "วัดอ่ำวัน" เรียกในสมัยช่วงแรกของการก่อตั้งวัด  ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอัมพวัน" ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 91 ตารางวา มีอาณาเขต ดังนี้

       นอกจากวัดจะมีที่ดินอันเป็นที่ตั้งของวัดดังกล่าวแล้ว ยังมีธรณีสงฆ์อยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครคือ ที่ดินเจริญพาสน์ และที่ดินอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

ความเป็นมาของวัดอัมพวัน  

          วัดอัมพวัน เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งในตำบลถนนนครไชยศรี แต่ไม่มีลายลักษณ์อักษรยืนยันวันเดือนปีที่สร้างแต่สันนิษฐานโดยประมวลจากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ว่า ได้สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยุคที่ข้าราชบริพารนิยมสร้างวัดวาอารามเป็นอนุสรณ์ ในยุคแผ่นดินของ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ท่านพระยาชนะสงคราม "วัน" ได้สร้างวัดนี้ขึ้นถวายเป็นสมบัติของพระพุทธศาสนา เพื่ออุทิศบุญกุศลแด่มารดาของท่านที่ชื่อว่า "อ่ำ" นามของวัดที่สร้าง จึงเป็นการนำคำโดดๆ แบบไทยแท้ 2 คำมาผสมกัน นำหน้าด้วยชื่อมารดา ติดตามมาด้วยชื่อของผู้สร้าง จึงได้ชื่อว่า "วัดอ่ำวัน" คงเนื่องมาจากคำว่า "อ่ำวัน" เป็นคำที่ยากต่อการออกเสียงจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่พร้อมด้วยความหมายเปลี่ยนไปจากเดิมด้วยเป็น "อัมพวัน" จากคำไทยแท้ แปรเปลี่ยนเป็นภาษาบาลี ซึ่งมีความหมายว่า "ป่ามะม่วง" และเป็นวัดแห่งหนึ่งในสมัยพุทธกาล

ทางเข้า-ออก ทิศตะวันตก ติดกับคลองสามเสนทิศใต้

ป้ายทางเข้า-ออก วัด ติดกับสมาคมทหารผ่านศึกเกาหลี

ทางเข้า-ออก ทิศตะวันออก (ศาลาการเปรียญ)

ทางเข้า-ออก ทิศตะวันออก (กุฏิแม่ชี)

ศาลาการเปรียญ

ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน (ศาลาธรรมจักร)

ศาลาการเปรียญ (ศาลาต่อโบสถ์)

อุโบสถ

พระบรมสารีริกธาตุ

หลวงพ่อพระประธาน

วิหารคต